"เวสต์แบงก์" ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สู่พื้นที่ขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์
กรณีการทำสงครามระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน เริ่มกลับมาสู่จุดเดือดอีกครั้ง หลังกลุ่มฮามาส หรือองค์กรการเมืองติดอาวุธของชาวปาเลสไตน์ ได้ยิงจรวดถล่มพื้นที่อิสราเอลตอนใต้โดยเฉพาะบริเวณฉนวนกาซา ทำให้ทางการอิสราเอลต้องเปิดเสียงไซเรนแจ้งเตือนสถานการณ์ฉุกเฉิน
ซึ่งนอกจากฉนวนกาซาแล้ว บริเวณที่เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์อยู่เรื่อย ๆ ไม่ต่างกัน คือบริเวณ “เวสต์แบงก์”
“ฉนวนกาซา” คือที่ไหน? บ้านหลังสุดท้ายหรือกรงขังชาวปาเลสไตน์
อิสราเอล-ปาเลสไตน์ยิงจรวดตอบโต้ หลังปะทะในเวสต์แบงก์
“กลุ่มฮามาส” คือใคร? มีจุดประสงค์อะไรจึงต้องโจมตีอิสราเอล?
เวสต์แบงก์ หรือชื่อในภาษาฮิบรูที่แปลว่า จูเดียและซาแมเรีย เป็นดินแดนที่อยู่ติดกับแม่น้ำจอร์แดนฝั่งตะวันตก มีสถานะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์มาอย่างต่อเนื่องร่วมกับฉนวนกาซา โดยเวสต์แบงก์ เป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน
พื้นที่เวสต์แบงก์ในอดีต มีต้นกำเนิดพร้อมกับการก่อตั้งราชอาณาจักรเยรูซาเลมในยุคกลาง (ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 – 15) เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญในศาสนาคริสต์อย่างเบธเลเฮม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองที่พระเยซูประสูติ และเมืองสำคัญของศาสนาคริสต์ อิสลาม และยิว อย่างเมืองเยรูซาเลม ทำให้บริเวณเวสต์แบงก์ถือเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนศักดิ์สิทธิ์ก่อนที่ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมันยาวนานกว่า 400 ปี
ต่อมา หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 อาณาจักรออตโตมันพ่ายแพ้และล่มสลายลง ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงคราม เช่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ประกาศให้พื้นที่เวสต์แบงก์ ปกครองโดยรัฐบาลปาเลสไตน์ และเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตในอาณัติของสหราชอาณาจักร ในการประชุมที่ซานเรโม ปี 1920
ต่อมาในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมนี ประกาศนโยบายกวาดล้างชาวยิว ทำให้ชาวยิวทั่วโลกโดยเฉพาะในเยอรมนี อพยพครั้งใหญ่เข้ามายังดินแดนปาเลสไตน์ โดยเฉพาะบริเวณเวสต์แบงก์ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมืองศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม ปี 1948 ชาวยิวได้ประกาศเอกราชก่อตั้งเป็นรัฐอิสราเอล พร้อมต่อสู้กับชาวปาเลสไตน์เพื่อแย่งดินแดน จนกระทั่งจอร์แดนเข้ามาอ้างกรรมสิทธิ์เหนือบริเวณเวสต์แบงก์ในปีเดียวกัน
จนกระทั่งในปี 1967 เกิดสงคราม 6 วันขึ้นระหว่างอิสราเอล กับกลุ่มประเทศอาหรับที่ประกอบด้วยอียิปต์ จอร์แดน เลบานอน ปากีสถาน อิรัก ซีเรีย คูเวต และซาอุดิอาระเบีย ซึ่งอิสราเอลเป็นฝ่ายชนะ ทำให้กลุ่มปาเลสไตน์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มชนชาติอาหรับ ต้องอพยพจากเวสต์แบงก์ไปยังจอร์แดน ทำให้บริเวณเวสต์แบงก์อยู่ใต้อาณัติของอิสราเอลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้จอร์แดนจะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าวก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ในปี 1974 ที่ประชุมสุดยอดองค์การสันนิบาตอาหรับ มีมติกำหนดให้ “องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์” นำโดยยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นตัวแทนที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวของชาวปาเลสไตน์โดยอาราฟัต มีนโยบายประนีประนอมกับอิสราเอลพร้อมประกาศให้ชาวปาเลสไตน์กลับมายังเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งนโยบายดังกล่าว ขัดกับนโยบายของกลุ่มฮามาส ที่ไม่ต้องการประณีประนอม กลุ่มฮามาสจึงถือเป็นขั้วตรงข้ามกับกลุ่มฟะตะห์ของอาราฟัต และได้ย้ายไปตั้งฐานที่มั่นที่ฉนวนกาซา ก่อนจอร์แดนจะถอนการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่นี้ในปี 1988
จนกระทั่งเมื่อปี 1993 อิสราเอลและปาเลสไตน์ บรรลุข้อตกลงสันติภาพที่เรียกว่า “ข้อตกลงออสโล” เพื่อคลี่คลายปัญหาข้อพิพาทระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ส่วนหนึ่งของข้อตกลงคือ การแบ่งเวสต์แบงก์ออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่
- Area A – มีพื้นที่ประมาณ 18% ให้อยู่ในความปกครองของปาเลสไตน์ มีรัฐบาลและดูแลความมั่นคงของตัวเอง
- Area B – มีพื้นที่ประมาณ 22% ให้ปาเลสไตน์มีอำนาจทางการเมือง แต่การดูแลความมั่นคงจะเป็นหน้าที่ของอิสราเอล
- Area C – เป็นพื้นที่ที่เหลือทั้งหมด ให้อิสราเอลดูแลทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง ใน Area C นี้เองคือพื้นที่ที่ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลอาศัยและตั้งนิคมอยู่
อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชาวอิสราเอลเริ่มขยับขยายจาก Area C เข้าไปตั้งถิ่นฐานใน Area B และ A มากขึ้น ชาวปาเลสไตน์ยังคงถูกบีบให้ออกจากพื้นที่ ก่อให้เกิดความไม่พอใจและมีการปะทะกันเป็นระยะๆ โดยปัจจุบันมีชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่ในพื้นที่เวสต์แบงก์ราว 2 ล้าน 9 แสนคนและมีชาวอิสราเอลที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานอีกราว 475,000 คน
โดยเหตุความขัดแย้งในบริเวณเวสต์แบงก์ มีตั้งแต่การทะเลาะวิวาท การก่อเหตุจลาจล ก่อเหตุกราดยิง ไปจนถึงการบุกถล่มหมู่บ้านของอีกฝ่าย และยังคงมีความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่ายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เรียบเรียงจาก Britannica / BBC / Wikipediaคำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท
ภาพจากJaafar ASHTIYEH / AFP -Menahem KAHANA / AFP
“กลุ่มฮามาส” คือใคร? มีจุดประสงค์อะไรจึงต้องโจมตีอิสราเอล?
สภาพอากาศวันนี้ ฝนถล่ม 54 พื้นที่ เหนือ-อีสาน ฝนตกหนักถึงหนักมาก!
เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ